More

    เราฝึกเพื่อความพร้อม เราซ้อมเพื่อช่วยชีวิต “SAREX 2024”

    กองทัพอากาศ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (สกชย.) กระทรวงคมนาคม ฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ประจำปี 2567 (SAREX 2024) ครั้งที่ 44 จังหวัดอุดรธานี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนคนไทย และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทย

    เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้(2 สิงหาคม 2567) พลอากาศเอก วรกฤต มุขศรี ผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ในฐานะประธานอนุกรรมการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ประจำปี 2567 เป็นประธานเปิดการสาธิตการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ณ ลานจอดอากาศยาน กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี โดยมีนายณัฐพงศ์ คำวงศ์ปิน รองผวจ.อุดรธานี น.อ.นทัย เมืองมณี ผบ.กองบิน 23 ทูตทหารจากประเทศสิงคโปร์ สปป.ลาวและเวียดนาม หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมงาน

    นายพัลลภ สังข์ศิลป์เลิศ ผอ.สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (สกชย.) กล่าวว่า การฝึกซ้อมครั้งนี้ เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานด้านการช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัยขององค์การการบินระหว่างประเทศ (International Civil Avion Organization) กำหนดให้ประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกจัดให้มีการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลือในยานประสบภัยเป็นประจำทุกปี เพื่อมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางโดยอากาศยานของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นในการค้นหาและช่วยเหลือผู้รอดชีวิตในกรณีอากาศยานประสบภัย ประเทศไทย ในฐานะรัฐภาคีได้จัดการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลือในยานประสบภัยมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปีนี้ กระทรวงคมนาคมมอบหมายให้กองทัพอากาศเป็นแกนกลางในการจัดการฝึกซ้อมฯ พร้อมกับแต่งตั้งตั้ง พลอากาศเอก วรกฤต มุขศรี ผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เป็น ประธานอนุกรรมการฝึกซ้อมฯ

    การฝึกซ้อม “SAREX 2024” กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2567 ณ กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี วัตถุประสงค์เพื่อ “ทดสอบ” การปฏิบัติตามแผนค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564 เพื่อ “ทบทวน” การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เป็นไปตามาตรฐานสากล โดยยึดตามแผนค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564 และเเพื่อ “เสริมสร้างความร่วมมือ” ของหน่วยที่เกี่ยวช้องในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ให้สอดคล้องตามแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564

    กิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย 1. การฝึกซ้อมการติดต่อสื่อสาร (Communication Exercise: COMEX) และการทบทวนความรู้ความเข้าใจ (Comprehension Review) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 การทดสอบการฝึกช้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise: TTX) ซึ่งจะเป็นการนำร่างสถานการณ์สมมติจำลองจากสถานการณ์จริงมาให้หน่วยงานที่เข้าร่วมการฝึกซ้อมฯ แก้ปัญหาบนหลักการมาตรฐานสากล และคู่มือการปฏิบัติบัติของหน่วยงานตนเอง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 การจัดนิทรรศการ (Exhibion) ของหน่วยงานในระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนอื่น ๆ ในวันที่ 1-2 สิงหาคม 2567

    การจัดตั้งแสดงอากาศยาน (Static Display) ในวันที่ 1-2 สิ่งหาคม 2567 การแสดงสาธิตการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (Dernonstration) ตามแผนค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564 ในวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ในการนี้มีหน่วยงานที่เข้าร่วมการฝึกข้อมฯ ได้แก่ หน่วยงานในระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยประจำปี 2567 จำนวน 22 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงคมนาคม กองทัพอากาศ กองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถาบันการบินพลเรือน เป็นต้น ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ในจังหวัดอุดรธานี

    กองทัพอากาศมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่จะบูรณาการขีดความสามารถและประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายและทุกภาคส่วนของจังหวัดอุดรธานี ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อย่างใกล้ชิด เพื่อยกระดับปลอดภัยการเดินอากาศด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศไทย ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการบินของภูมิภาคตามนโยบายของรัฐบาล สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างความมันใจในการเดินทางโดยอากาศยานให้กับพี่น้องประชาชนและประเทศชาติต่อไป

    พลอากาศเอก วรกฤต มุขศรี ผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ กล่าวว่า การฝึกครั้งนี้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เราเพียงแต่พัฒนาคนที่การฝึกจะมีการหมุนเวียนไป วันนี้ผู้บัญชาเหตุการณ์เป็น ปภ.จังหวัด ถ้าไปเกิดเหตุการณ์อีกที่หนึ่ง ผู้บัญชาการเหตุการณ์ก็จะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหรือที่ผู้ว่าฯมอบหมาย ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความเข้าใจว่าจะต้องสั่งการอะไร ต้องรู้อะไรบ้าง ถือว่าก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ที่เลือกจังหวัดอุดรธานี เพราะว่าเป็นศูนย์กลางการเดินทางของภาคอีสานตอนบน โดยเฉพาะทางอากาศที่มีเที่ยวบินเป็นจำนวนมาก ผลการฝึกซ้อมนอกจากจะสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางปลอดภัยโดยเครื่องบินแล้ว หากเกิดเหตุการณ์พวกเราที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ก็ต้องมีความพร้อมในการช่วยเหลือ

    พลอากาศเอก วรกฤตฯ กล่าวอีกว่า ทุกๆปีเราจะมีการนำเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงมาพัฒนา เช่นวันนี้จะมีระบบถ่ายทอดสัญญาณจากโดรนและจากอากาศยานของกองทัพอากาศเองมาที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ก็จะเห็นภาพทั้งหมดว่าตอนนี้ในพื้นที่เป็นอย่างไร ควรจะสั่งการอะไร ในพื้นที่ต้องการอะไรเร่งด่วนไหม เป็นเรียลไทม์ เหมือนบัญชาการการรบจริงๆ และในภาครวมของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นทหารหรือหน่วยงานอื่นๆนั้น มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในทุกๆสถานการณ์ ในส่วนของทหารนั้น เราไม่ใช้เครื่องบินในภารกิจการรบเพียงอย่างเดียว เราสามารถนำเอาเครื่องบินหรือยุทโธปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชน ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไร นี่เป็นตัวอย่างหนี่งที่เราประยุกต์และบูรณาการขีดความสามารถ เพราะฉะนั้นขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในขีดความสามารถ โดยเฉพาะการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย เรามีความพร้อมและฝีกเป็นประจำเพื่อให้เกิดความชำนาญ ภายใต้คอนเซ็ปหรือสโลแกนที่ว่า “เราฝึกเพื่อความพร้อม เราซ้อมเพื่อช่วยชีวิต”

    ข่าวล่าสุด

    spot_img

    ช่าวน่าสนใจ

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • เปิดใช้งานตลอด

    บันทึกการตั้งค่า